สรุปประเด็น TCAS66 มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง แล้ว TGAT/TPAT คืออะไร ?

Last updated: 24 มี.ค. 2565  |  2738 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สรุปประเด็น TCAS66 มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง แล้ว TGAT/TPAT คืออะไร ?

สำหรับน้องๆ Dek66 ที่กำลังมีข้อสงสัยกันว่า TCAS66 ต้องสอบอะไรบ้าง มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจาก TCAS65 บ้าง เราไปดูกันเลยค่ะ 

สรุปการเปลี่ยนแปลง TCAS66

  • ลดความซ้ำซ้อนของวิชาสอบ
  • เน้นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • GAT/PAT ไม่มีการสอบแล้ว แต่เปลี่ยนข้อสอบเป็น TGAT/TPAT
   (จาก GAT เปลี่ยนเป็น TGAT และ PAT เปลี่ยนเป็น TPAT)
  • ทุกวิชาสอบผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดให้ที่สนามสอบ

ดังนั้น น้องๆ Dek66 จะต้องอ่านหนังสือและทำความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น เพราะถ้าเราไม่รู้และไม่เข้าใจเนื้อหาการเรียนอย่างแท้จริง น้องๆจะไม่สามารถทำข้อสอบแบบประยุกต์ได้นะคะ

แล้ว TCAS 66 ต้องสอบอะไรบ้าง?

1. TGAT  Thai General Aptitude Test

TGAT เป็นการสอบวัดความสมรรถนะทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ส่วน 

  1. ENGLISH COMMUNICATION ทักษะภาษาอังกฤษ
  2. CRITICAL AND LOGICAL THINKING การคิดอย่างมีเหตุผล
  3. FUTURE WORKFORCE COMPETENIES สมรรถนะในการทำงานในอนาคต แบ่งออกเป็น
- Value Creation & Innovation การสร้างคุณค่าและวัฒนธรรม
- Complex Problem Solving การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
- Emotional Governance การบริหารจัดการอารมณ์
- Civic Engagement การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อสังคม
 
คะแนนเต็ม 300 คะแนน
 

2. TPAT  Thai Professional Aptitude Test

TPAT เป็นการสอบความถนัดวิชาชีพ 5 กลุ่ม โดยแบ่งแแกเป็นดังนี้

  1. ความถนัดทางการแพทยศาสตร์ (รวมถึงทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์) หรือ ที่เรียกว่า วิชากสพท.
  2. ความถนัดทางวิศวกรรม (แนวทางจาก PAT2 / PAT 3)
  3. ความถนัดทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (แนวทางจาก PAT5)
  4. ความถนัดทางสถาปัตยกรรม (แนวทางจาก PAT4)
  5. ความถนัดทางศิลปกรรม (แนวทางจาก PAT6)

คะแนนเต็ม 100 คะแนน

3. วิชาสามัญ

3.1 คณิตศาสตร์ประยุกต์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ เป็นการรวมกันระหว่างคณิตศาสตร์ 1 และ PAT1 โดยโจทย์จะมีการออกแบบประยุกต์ให้ Advance มากยิ่งขึ้น ต่างจากข้อสอบปีก่อนๆ ที่โจทย์ถามอย่างไร ตอบอย่างนั้น แบบตรงๆเลย มี 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 คณิตพื้นฐาน : เดิมคือ ONET คณิตศาสตร์ (เต็ม 100 คะแนน) และคณิต 2 วิชาสามัญ (เต็ม 100 คะแนน) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น วิชาสามัญคณิตประยุกต์พื้นฐาน (เต็ม 100 คะแนน)


ส่วนที่ 2 คณิตเพิ่มเติม : เดิมคือ PAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (เต็ม 300 คะแนน) และคณิต 1วิชาสามัญ (เต็ม 100 คะแนน) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น วิชาสามัญประยุกต์เพิ่มเติม (เต็ม 100 คะแนน)

**น้องๆสามารถเลือกสอบเพียง คณิตศาสตร์พื้นฐาน หรือ คณิตศาสตร์เพิ่มเติม หรือเข้าสอบ ทั้ง 2 ส่วนเลยก็ได้  ขึ้นอยู่กับคณะ/สาขาวิชากำหนด

3.2 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เปลี่ยนมาจากวิทยาศาสตร์ทั่วไป

3.3 ฟิสิกส์

3.4 เคมี

3.5 ชีววิทยา

3.6 ภาษาไทย

3.7 สังคม

3.8 ภาษาอังกฤษ

3.9 ภาษาต่างประเทศอื่นๆ และมีการเพิ่มภาษามากขึ้น จาก PAT7 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี บาหลี ฝรั่งเศส เยอนมัน อาหรับ

คะแนนเต็ม 100 คะแนน

รูปแบบการสอบ

สอบผ่านคอมพิวเตอร์ (Computer Based) ณ สนามสอบที่ได้

ขอบเขตเนื้อหา

ข้อสอบถูกออกมาจาก เนื้อหาการเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 (ไม่เกินจากหลักสูตร) โดยจะเน้นการคิด วิเคราะห์ และการนำไปใช้เป็นหลัก

กำหนดการสอบ สอบได้กี่ครั้ง

TGAT : สอบได้ 2 ครั้ง
เดือนตุลาคม และ เดือนธันวาคม ปี 2565

TPAT  : สอบได้ 1 ครั้ง
เดือนธันวาคม ปี 2565

วิชาสามัญ : สอบได้ 1 ครั้ง
เดือนมีนาคม ปี 2566

ใช้สำหรับยื่นรอบไหนบ้าง?

  • TGAT/ TPAT  สามารถใช้ผลคะแนนในการยื่นรอบ Portfolio , Quota และ Admission
  • วิชาสามัญ สามารถใช้ผลคะแนนในการยื่นรอบ Quota และ Admission

เชื่อว่าน้องๆต้องกังวลมากว่า จะเตรียมตัวยังไง? ข้อสอบจะออกประมาณไหน?  ข้อสอบเก่ายังทำได้มั้ย? แล้วควรฝึกฝนจากไหนดี? และข้อสงสัยอีกมากมาย

คำตอบคือ เนื้อหาแกนกลางเป็นอย่างไร ข้อสอบก็ต้องออกตามหลักสูตรแกนกลาง ข้อสอบ “ไม่ออกเกินหลักสูตร” ทุกอย่างอิงตามหนังสือหลักสูตรกระทรวง หรือ หนังสือ สสวท. แต่โจทย์ที่เราเจอในข้อสอบจะเป็นการประยุกต์อย่างเคยนั่นแหละ ทำให้เรารู้สึกว่ายาก ดังนั้นเพียงแค่น้องๆ ทำความเข้าใจเนื้อหาแต่ละบทเรียน และฝึกฝนโจทย์เพื่อทบทวนความเข้าใจ เราก็พร้อมสำหรีบสนามสอบปีนี้แล้วค่ะ ^^

โดยรูปแบบการคัดเลือกยังคงเป็น 4 รอบ 4 รูปแบบ คือ

Portfolio

  • เน้นความสามารถที่โดดเด่น
  • พิจารณาจากผลงาน ไม่มีการสอบวัดความรู้ หรือสอบปฏิบัติ ใช้คะแนน
  • GPAX, GAT/PAT ได้

Quota

  • เน้นคนในพื้นที่ คุณสมบัติเฉพาะ เครือข่ายความร่วมมือ
  • ใช้คะแนนสอบส่วนกลาง  หรือมหาวิทยาลัยจัดสอบเอง (GPAX, GAT/PAT, วิชาสามัญ)

Admission

  • เน้นการสอบส่วนกลาง  (สทศ. และ กสพท)
  • มหาวิทยาลัยกำหนดเกณฑ์คัดเลือกอย่างอิสระ (GPAX, GAT/PAT, วิชาสามัญ)

รับตรงอิสระ Direct Admission

  • เน้นคนที่ยังไม่มีที่เรียน
  • มหาวิทยาลัยกำหนดเกณฑ์คัดเลือกอย่างอิสระ (GPAX, GAT/PAT, วิชาสามัญ)

ทั้งนี้ ข้อมูลต่างๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลง นักเรียนควรติดตามข้อมูลข่าวสารจากทปอ. ไม่ว่าจะเป็นทาง ช่องทาง mytcas.com 

อ้างอิง: ทปอ. , mytcas.com 

ที่มา : mystcas.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้