รวมสนามสอบแข่งขันวิชาการ รายละเอียด ครบ จบที่นี่ที่เดียว!

Last updated: 15 มี.ค. 2567  |  160341 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 รวมสนามสอบแข่งขันวิชาการ รายละเอียด ครบ จบที่นี่ที่เดียว!

“ มีการสอบเเข่งขันวิชาการอะไรบ้าง? ”
“เเต่ละการสอบแตกต่างกันยังไง?”
“เข้าสอบไปเเล้วได้อะไร”
“รายละเอียดแต่ละการสอบเป็นยังไงนะ?”
"สอบอันไหนดีหนอ?"

พี่เชื่อว่ายังมีอีกหลายคำถามที่น้องๆ เคยนึกสงสัย เวลาเห็นข่าวเพื่อนๆ ไปทำกิจกรรมเป็นตัวเเทนการสอบเเข่งขันวิชาการ เขาเริ่มจากไหนกัน? มีประโยชน์อะไรมากกว่าการฝึกทดสอบความรู้เฉยๆไหมนะ ? แล้วสอบชื่อนี้คืออะไร? เเล้วถ้าอยากสอบบ้างจะต้องเตรียมตัวยังไง? สมัครเมื่อไหร่? เราอยู่ในเกณฑ์สมัครได้ไหมนะ?

วันนี้พี่มีสรุปข้อมูลมาให้น้า มาดูกันเลยว่ามีการสอบเเข่งขันวิชาการอะไรบ้าง และการสอบเเข่งขันวิชาการเเบบไหนที่เหมาะกับเรากัน

ว่าแต่สนามสอบวิชาการมีอะไรบ้างนะ ?

1. โอลิมปิกวิชาการ (สอวน.)

การสอบเเข่งขันโอลิมปิกวิชาการ เป็นโครงการสอบเเข่งวิทยาศาสตร์ใน 7 สาขาวิชา ได้เเก่ ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, คณิตศาสตร์, ภูมิศาสตร์, ดาราศาสตร์ เเละคอมพิวเตอร์ เพื่อหาตัวเเทนประเทศไปเเข่งขันในระดับนานาชาติ

รายละเอียดของการสอบ
กว่าจะมาถึงค่ายโอลิมปิกวิชาการ น้องๆ ต้องผ่านการสอบเเละการเข้าค่ายจาก สอวน. 2 ค่าย เเละ สสวท. 2 ค่าย ซึ่งทั้ง 4 ค่ายนี้น้องๆ จะได้ความรู้ทั้งวิชาการเเละการลงมือปฎิบัติจริง 

การสอบเเข่งขันนี้เหมาะกับใคร
ม.ต้น เเละ ม.ปลาย สายวิทย์
ในรายวิชา ภูมิศาสตร์, ดาราศาสตร์ เเละคอมพิวเตอร์ น้องๆ สายศิลป์ก็สามารถสอบได้

ช่วงเวลาการรับสมัคร
สอวน. ค่าย 1 รับสมัครช่วงเดือน มิ.ย. – ก.ค (อ้างอิงจากปี 61)

สอบเเข่งขันโครงการนี้เเล้วได้อะไร
โควต้าเข้ามหาวิทยาลัย
โควต้ารับตรง
  • คณะวิทยาศาสตร์ เเละคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
โควต้าพิเศษ
  • คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สำหรับผู้ที่ได้รับเหรียญทองโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศไม่ต้องสอบข้อเขียน

และอีกหลายๆคณะ ตามเงื่อนไขของมหาวิทยาลัยปีนั้นๆ อาทิเช่น ผ่านค่ายที่ 2 ,สอบได้ลำดับที่ 1- 50 ในการแข่งระดับประเทศ ได้สิทธิ์เข้ามหาวิทยาลัยโดยไม่ต้องสอบ เป็นต้น

นอกจากได้ความรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียนแล้ว ยังเพิ่มโอกาสเข้ามหาวิทยาลัยด้วยนะคะ

2.  International Junior Science OlympiadIJSO (IJSO)

การแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกหรือ (International Junior Science Olympiad IJSO) คือการแข่งวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศสำหรับเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 15 ปี มีการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี 2004 และจัดการแข่งขันขึ้นทุกปีในแต่ละประเทศ โดยแต่ละประเทศจะต้องส่งนักเรียนเป็นทีม 6 คนและมีผู้นำทีม (อาจารย์ผู้ควบคุมทีม) 3 คน



รายละเอียดของการสอบ
คล้ายการสอบสอวน. เเต่จัดสอบสำหรับเด็ก ป.6 – ม.3
รายวิชาที่เปิดสอบมี 4 วิชา ได้เเก่ คณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมีเเละชีววิทยา 
เมื่อผ่านการสอบคัดเลือกรอบเเรกจะได้เข้าค่ายอบรมภาคปฎิบัติ เปิดประสบการณ์ความรู้ที่ไม่ได้อยู่เเค่การเรียนหรือทำข้อสอบ เเต่เป็นการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ

การสอบเเข่งขันนี้เหมาะกับใคร
น้องๆ ป.6 – ม.3
ต้องมีผลการเรียนคะเเนนเฉลี่ยนวิชาพื้นฐานในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ต้องไม่ต่ำกว่า 3.5 หรือมีผลการเรียนดีและมีผลงานทางวิทยาศาสตร์ดีเด่น (ต้องมีใบรับรองจากสถาบันศึกษา)

ช่วงเวลาการรับสมัคร
ประมาณเดือน พ.ย – ธ.ค. (ขึ้นอยู่กับเเต่ละปี)

สอบเเข่งขันโครงการนี้เเล้วได้อะไร
  • มีโอกาสได้เข้าค่ายอบรมภาคปฏิบัติสำหรับผู้สอบผ่านการสอบคัดเลือกรอบเเรก
  • มีโอกาสได้เป็นตัวเเทนไปเเข่งโอลิมปิกวิชาการ
  • ได้ประสบการณ์เเละได้เรียนกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆโดยตรง 
 
3. MOS Olympic Thailand Competition (MOS)
 
MOS Olympic Thailand Competition คือ การเเข่งขันโปรแกรม Microsoft โดยบริษัท เออาร์ไอที จำกัด เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกตัวเเทนเยาวชนไทยเพื่อส่งเข้าร่วมแข่งขันบนเวทีระดับโลก MOS Olympic World Championship ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
 
 
รายละเอียดของการสอบ
การเเข่งขันการใช้โปรเเกรม Microsoft พื้นฐาน คือ Microsoft Word, Microsoft Excel เเละ Microsoft PowerPoint ซึ่งเป็นโปรเเกรมที่น้องๆ น่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีเเละสามารถนำความรู้หรือเทคนิคต่างๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมได้

การสอบเเข่งขันนี้เหมาะกับใคร
น้อง ม.ปลาย, ปวช. ปวส.  จนถึงระดับมหาวิทยาลัย ไม่จำกัดสาขา หรือชั้นปี โดยมีอายุระหว่าง 16 – 21 ปี

ช่วงเวลาการรับสมัคร
ประมาณเดือน พ.ย.-ก.พ.

สอบเเข่งขันโครงการนี้เเล้วได้อะไร
  • ได้เข้าค่ายอบรมการใช้งานโปรแกรมชุด Microsoft Office โดยวิทยากรผู้มีความชำนาญจาก บริษัท ARIT เป็นเวลา 3 วัน
  • ทุนการศึกษาจากการเป็นผู้ชนะการเเข่งขันประดับประเทศ
  • ได้เข้าร่วมการเเข่งขันระดับนานาชาติ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้งค่าเดินทางเเละค่าที่พัก

 

4. โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.)

พสวท.คือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) เป็นโครงการของรัฐบาลไทยโดยความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยให้ทุนการศึกษาเเละจัดค่ายวิทยาศาสตร์

รายละเอียดของการสอบ
ทุนนี้เหมาะกับคนรักคณิตศาสตร์เเละวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นการให้ทุนการศึกษาตั้งเเต่มัธยมปลาย จนถึงปริญญาเอก เเละยังเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้การทดลอง, การทำงานวิจัย ผ่านค่ายย่อยต่างๆ ภายในโครงการ

การสอบเเข่งขันนี้เหมาะกับใคร
น้องที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.3 เเละ ม.6


ช่วงเวลาการรับสมัคร 
  • สำหรับ ม.3 เพื่อรับทุนต่อ ม.ปลาย : รับสมัครถึงช่วงกลางเดือน พ.ย
  • สำหรับ ม.6 เพื่อรับทุนต่อมหาลัย : รับสมัครถึงช่วงกลางเดือน พ.ย

สอบเเข่งขันโครงการนี้เเล้วได้อะไร

  • ทุนการศึกษาตั้งเเต่มัธยมปลาย ถึง ปริญญาเอก
  • โควต้าเข้ามหาวิทยาลัยในประเทศที่ร่วมโครงการ 10 มหาวิทยาลัย
  • โอกาสฝึกทำงานวิจัยโดยมีอาจารย์พี่เลี้ยงในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยคอยให้การดูแลแนะนำอยู่เสมอ
  • การหาตำแหน่งงานให้แก่บัณฑิตใหม่ โดย สสวท
  • โอกาสไปทำวิจัยหรือเป็นนักเรียนเเลกเปลี่ยนในต่างประเทศ

 

5. เพชรยอดมงกุฏ

เพชรยอดมงกุฎคือ โครงการเฟ้นหานักเรียนที่มีความสามารถใน 13 สาขาวิชาทั้ง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ เป็นต้น ดำเนินการภายใต้มูลนิธิร่มฉัตร

รายละเอียดของการสอบ
การสอบมีสาขาวิชาให้เลือกสอบหลากหลาย ข้อสอบที่มีทั้งสอบวัดความรู้พื้นฐานเเละความถนัดในสาขาวิชาต่างๆ เช่น การพูดสุนทรพจน์ภาษาจีน

การสอบเเข่งขันนี้เหมาะกับใคร
น้องๆ ม.1 – ม.6 เเละในบางสาขาวิชา เช่น ภาษาญี่ปุ่น เปิดรับสมัครถึงระดับมหาวิทยาลัย


ช่วงเวลาการรับสมัคร
รายวิชาต่างๆ มีกำหนดการรับสมัครที่เเตกต่างกัน


สอบเเข่งขันโครงการนี้เเล้วได้อะไร

  • โอกาสในการได้ไปเเข่งค่ายวิชาการต่างๆ
  • ทุนการศึกษาเเละโล่เกียรติบัตร

 

6. การแข่งขันคณิตศาสตร์ โดยสมาคมคณิตศาสตร์

สมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จัดสอบเเข่งขันคณิตศาสตร์เป็นประจำทุกปีเพื่อเฟ้นหานักเรียนที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์จากทั่วประเทศ

รายละเอียดของการสอบ
จัดสอบเเข่งขันทั้งเเบบประเภททีมเเละบุคคล โดยการเเข่งขันเเบ่งเป็น 3 ระดับ ประถมศึกษา, มัธยมศึกษาตอนต้น เเละมัธยมศึกษาตอนปลาย


การสอบเเข่งขันนี้เหมาะกับใคร
เปิดรับสมัครสอบ 3 ระดับ (สอบเเยกกันในเเต่ละระดับ)

  • ป.1 – ป.6
  • ม.1 – ม.3
  • ม.4 – ม.6
ช่วงเวลาการรับ
ประมาณเดือน ก.ค. – ก.ย. (อ้างอิงปี 62)

สอบเเข่งขันโครงการนี้เเล้วได้อะไร
  • ทุนการศึกษาเเละโล่รางวัล
  • โอกาสในการเเข่งขันค่ายวิชาการต่างๆ

เป็นยังไงกันบ้างค่ะ อ่านจบเเล้วอยากสมัครเข้าร่วมการสอบเเข่งขันวิชาการโครงการไหนกันบ้างรึเปล่าค่ะ ประโยชน์จากการเข้าร่วมนอกจาก รางวัลต่างๆที่ได้รับ น้องๆยังได้ความรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียน ประสบการณ์และเพื่อนๆด้วยนะคะ เพราะฉะนั้นหากอยากได้กิจกรรมดีๆและได้ทดสอบความสามารถของตนเองพี่ว่า การเข้าค่าย เข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งเลยค่ะ

ถ้าน้องๆสนใจ สนามสอบไหนคอยติดตามประกาศจากเว็บไซต์ของสนามสอบนั้นๆ ไว้ และเตรียมตัวให้พร้อมเสมอนะคะ ,ครูพี่วา

  อัพเดท! ข่าวประกาศ การแข่งขันวิชาการนานาชาติ ปี 2566

       

       

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้